ของเล่นที่แปลก ประหลาดที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานมีหลายชนิด เช่น ตัวดูด ตัวอมน้ำ ซึ่งผลิตและนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตัวดูดนี้เป็นตุ๊กตาตัวเล็ก เมื่อนำไปแช่น้ำแล้ว สามารถขยายได้มากกว่า ๒๐๐ เท่า และมีมากว่า ๒๐ ปีแล้ว ปรากฏอยู่ในตลาดเมืองไทย ตามแต่ความเข้มงวดของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยทดสอบเจ้าตัวดูดน้ำพบว่า มีความคงทนต่อน้ำย่อย หมายถึง ไม่ถูกกัดกร่อนโดยน้ำย่อย แต่สามารถขยายตัวได้แม้อยู่ในน้ำย่อย หากเด็กกลืนลงกระเพาะอาหารและลำไส้ จะสามารถขยายตัวและอุดตันลำไส้ได้ หรือยิ่งร้ายกว่านั้น อาจสำลักเข้าสู่หลอดลม อาจขยายทำให้เกิดการอุดตันหลอดลมและยากต่อ การนำออก เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ของเล่นเสียงดัง
"เสียงที่ระดับ ๘๕ เดซิเบล มีอันตรายเมื่อได้ยินติดต่อกันนานเกินกว่า ๘ ชั่วโมง
เสียงที่ระดับ ๑๐๐ เดซิเบล หากได้ยินนานเกิน กว่า ๑๕ นาทีโดยไม่มีสิ่งป้องกันจะก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อโสตประสาทได้
สำหรับเสียงที่ดังเกินกว่า ๑๓๐ เดซิเบล จะทำให้เกิดความเสียหายต่อโสตประสาท
ในเวลาเพียง ๒ นาที"
สำหรับเด็กนั้นเสียงที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือเสียงของของเล่น
ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ Dr. Alf Axelson และ Thomas Jerson จากมหาวิทยาลัย Goetborg ในประเทศสวีเดน ได้เป็นคนแรกที่รายงานการศึกษาอันตรายจากของเล่นที่มีเสียง โดยได้ทำการวัดระดับเสียงของเล่นต่างๆ ที่ระยะห่าง ๑๐ เซนติเมตร พบว่าของเล่นประเภทกดบีบ (squeak toy) ทำให้เกิดเสียง ๗๘-๑๐๘ เดซิเบล ของเล่นเคลื่อนไหวได้ (เช่น รถ หุ่นยนต์) ทำให้เกิดเสียง ๘๒-๑๐๑ เดซิเบล
ที่ระยะ ๕๐ เซนติเมตรของเล่นประเภทปืนยังสามารถสร้างเสียงได้ถึง ๑๕๓ เดซิเบลที่ระยะ ๓ เมตรประทัด ๕ ชนิดสามารถสร้างเสียงได้ถึง ๑๒๕-๑๕๖ เดซิเบล
การศึกษาของ Greg Noel นักวิจัยจากศูนย์-วิจัยการพูดและการได้ยิน Nova scotia ในประเทศแคนาดา พบว่าของเล่นเสียงดังหลายอย่างเป็นอันตรายต่อประสาทการได้ยิน Noel กล่าวว่า
"แม้ว่าของเล่นที่ก่อให้เกิดเสียงดังกว่า ๑๐๐ เดซิเบล จะถูกห้ามขายในตลาดประเทศแคนาดา แต่สถานการณ์นี้ก็ยังไม่น่าพอใจ ของเล่นถูกทดสอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสภาพดังกล่าวไม่ใช่สภาพความเป็นจริง"
ศูนย์วิจัยแห่งนี้ได้ทำการสำรวจเสียงที่เกิดจากของเล่นต่างๆ ทั้งประเภทเกมคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ตุ๊กตากดบีบให้มีเสียง พบว่าของเล่นเหล่านี้ยังคงสามารถก่อให้เกิดเสียงดังกว่า ๑๐๖ เดซิเบล ซึ่งหากได้ยินเสียงนั้นนานๆ หรือได้รับซ้ำๆ ประสาทการได้ยินจะเสียหายได้เช่นกัน
ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า ๕ ขวบยิ่งมีความเสี่ยงสูง เพราะช่องหูของเด็กเหล่านี้ยังมีขนาดเล็กและกำลังเจริญเติบโต จะทำให้เสียงที่ผ่านเข้ามาเพิ่มขนาดได้สูงขึ้นถึงอีก ๓๐ เดซิเบล
พฤติกรรมของเด็กในการเล่นมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน Noel กล่าวว่า "เด็กชอบมากที่จะเอาของเล่นมาแนบกับหูตัวเองหรือหูเพื่อน และเปิดสวิตช์หรือกดบีบเพื่อให้ของเล่นของตัวเองมีเสียงดังเกิดขึ้น ซึ่งการกระทำนี้จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายของประสาทการได้ยินของพวกเขาได้"
ผู้ดูแลเด็กควรต้องระวังอันตรายจากเสียงต่อเด็ก การศึกษาของเล่นบางชนิดพบระดับเสียงที่น่ากังวลใจ ของเล่นที่เด็กเล่นเป็นประจำสามารถทำให้เกิดเสียงที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เช่น
ประเภทของเล่น
ระดับเสียง (เดซิเบล)
ของเล่นประเภทไซโลโฟน ๑๒๙ ที่ระยะห่าง ๑ ฟุต
ของเล่นประเภทกลอง แตร กีตาร์ ๑๒๒
กุ๊งกริ๊ง ๑๑๐
เครื่องเป่า ทรัมเป็ต ๙๕
ของเล่นประเภทโทรศัพท์ ๑๒๓-๑๒๙
ของเล่นที่มีการขยายเสียง เกิดเสียงได้สูงถึง ๑๓๕
ของเล่นประเภทปืน เกิดเสียงได้สูงถึง ๑๕๐
การป้องกัน
ข้อแนะนำผู้ดูแลเด็กเพื่อป้องกันโสตประสาทเด็กคือ ต้องรู้จักเลือกของเล่นให้เด็กเหมาะสมตามวัย อย่าซื้อของเล่นเสียงดังให้ ถ้าไม่แน่ใจทำให้เกิดเสียงดังข้างๆ หูตัวเองว่าดังมากหรือน้อยเพียงใด สอนเด็กให้เล่นถูกวิธี ไม่ทำเสียงดังใส่หูกันและกัน ถ้าจำเป็นต้องปิดเทปที่หวีดเสียงในของเล่นบางชนิด หรือของเล่นที่เป็นสวิตช์บังคับเสียง ให้ล็อกสวิตช์เสียงไว้ไม่ให้สามารถขยายเสียงได้
ในประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรฐานควบคุมของเล่นเสียงดังไว้แล้ว โดยกำหนดว่าของเล่นที่มีเสียงดังแบบไม่ต่อเนื่อง แต่ละครั้งก่อเสียงไม่นานเกินกว่า ๑ วินาที ต้องมีระดับเสียงอยู่ที่ ๑๐๕-๑๑๐ เดซิเบล หากของเล่นก่อเสียงต่อเนื่องเกินกว่า ๑ วินาที ระดับเสียงถูกควบคุมไว้ที่ ๗๕-๘๕ เดซิเบล
อย่างไรก็ตาม ของเล่นเหล่านี้ยังคงมีเกลื่อนตลาด ไม่มีการตรวจจับของเล่นที่ก่อเสียงเกินมาตรฐานอย่างจริงจัง เด็กๆ ยังคงต้องตกอยู่ในความ เสี่ยงต่อไปทั้งๆ ที่มีกฎหมายรองรับแล้ว คงจะถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรท้องถิ่น และครอบครัว ต้องร่วมมือกันเป็นสามประสาน จัดการกับของเล่นที่ไม่มีมาตรฐานให้หมดไปจากตลาด
ของเล่นประเภทปืน เกิดเสียงได้สูงถึง ๑๕๐
บทความจาก : iambebebe
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : www.be-bebe.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ของเล่นเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น