- อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามต้องได้รับการออก แบบให้เหมาะสมกับอายุและพัฒนาการเด็ก โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ ๒-๕ ขวบ) และเด็กในวัยเรียน (อายุ ๕-๑๒ ขวบ)
- เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตกและก่อ ให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงของศีรษะและสมอง ระยะความสูงจากพื้นสนามถึงพื้นยกระดับของเครื่องเล่นสนาม สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนไม่ควรเกิน ๑.๒๐ เมตร และสำหรับเด็กวัยเรียนไม่ควรเกิน ๑.๕๐ เมตร
- ในกรณีเครื่องเล่นสำหรับวัยก่อนเรียน มีความสูงของพื้นยกระดับที่มีความสูงมากกว่า ๕๐ เซนติเมตร หรือเครื่องเล่นสำหรับเด็กวัยเรียนที่มีความสูงมากกว่า ๗๕ เซนติเมตร จะต้องมีราวกันตก หรือผนังกันตก
- การออกแบบบันได และราวบันไดชนิดต่างๆ ต้องคำนึงถึงระยะก้าว ระยะโหน การกำมือเพื่อยึดเหนี่ยวของเด็กในวัยต่างๆ
- เพื่อป้องกันศีรษะติดและกดการหายใจ ช่องต่างๆ ต้องเล็กเกินกว่าศีรษะจะลอดเข้าไปได้ หรือใหญ่พอที่ศีรษะไม่เข้าไปติดค้าง คือช่องต้องมีขนาดน้อยกว่า ๙ เซนติเมตร หรือมากกว่า ๒๓ เซนติเมตร
- เพื่อป้องกันเท้าหรือขาเข้าไปติด พื้นที่เดินหรือวิ่งจะต้องมีช่องว่างไม่เกิน ๓ เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ เท้าหรือขาเข้าไปติด
- เพื่อป้องกันนิ้วเข้าไปติด โดยการแหย่หรือลอด จะต้องไม่มีช่องว่างที่อยู่ขนาด ๐.๕ เซนติเมตร ถึง ๑.๒ เซนติเมตร
- เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการชนกระแทก อุปกรณ์เคลื่อนไหวเช่น ชิงช้า ที่นั่งต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่แข็ง
- นอต-สกรูที่ใช้ในการยึดเครื่องเล่นสนาม จะเป็นระบบกันคลาย ต้องออกแบบให้ซ่อนหัวนอต หรือปลายตัดหัวมนที่มีส่วนยื่นไม่เกิน ๘ มิลลิเมตร
- วัสดุที่ใช้ต้องไม่เป็นพิษและมีสารโลหะหนักเจือปนไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานในของเล่น
บทความจาก : iambebebe
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : www.be-bebe.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ของเล่นเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น