อันตรายจากของเล่น
ผลการวิจัยในเรื่องอุบัติเหตุในเด็กของโครง-การวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก ภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กต้องบาดเจ็บ มารับการตรวจรักษาในห้องฉุกเฉินคือการพลัดตกหกล้ม การจราจร บาดเจ็บจากการถูกทิ่มแทง บาด การบาดเจ็บจากการถูกกระแทกชน การบาดเจ็บจากสัตว์กัด และการบาดเจ็บจากความร้อนกลุ่มเสี่ยงที่เกิดการบาดเจ็บในเด็กส่วนใหญ่เป็น กลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า ๕ ขวบ ร้อยละ ๔๕ ของการบาดเจ็บในเด็กเกิดขึ้นที่บ้าน ร้อยละ ๒๓ เกิดบน ถนน และร้อยละ ๑๘ เกิดที่โรงเรียน
ผลิตภัณฑ์อันตรายที่พบว่าเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บได้บ่อย คือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างบ้านและเฟอร์นิเจอร์หลัก ยานพาหนะ สัตว์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัข) และของเล่น
ในบรรดาการบาดเจ็บที่เกิดจากของเล่นพบว่า การบาดเจ็บที่รุนแรง มักเกิดจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ของเล่นที่ใช้ยิง (เช่น ปืนอัดลม ปืนลูกดอก) ของเล่นที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว (เช่น รถหัด เดิน จักรยาน) ของเล่นทารก (เช่น กุ๊งกริ๊ง) ของเล่นชิ้นเล็กที่อาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจเด็ก ของเล่นมีสายยาวซึ่งอาจรัดพันคอเด็ก และของเล่นมีคมทั้งหลาย เป็นต้น
อันตรายจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
จากการศึกษาของโครงการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก พบว่าการบาดเจ็บจากเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล่นคิดเป็นร้อยละ ๑.๔๗ ของการบาดเจ็บทั้งหมดในเด็กอายุน้อยกว่า ๑๕ ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อประมาณการทั้งประเทศคาดว่าจะมีเด็กบาดเจ็บจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นปีละ ๓๔,๐๗๕ ราย การบาดเจ็บชนิดนี้มักเกิดขึ้นในเด็กอายุ ๕-๑๒ ขวบ สาเหตุร้อยละ ๔๔ เกิดจากกระดานลื่น ร้อยละ ๓๓ เกิดจากชิงช้า นอกจากนั้นเกิดจากเครื่องปีนป่าย ม้าหมุน และอื่นๆ
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บ ของแขนขา ใบหน้า และศีรษะ การบาดเจ็บที่รุนแรงที่พบบ่อยคือกระดูกหักของแขนหรือข้อมือและการบาดเจ็บศีรษะสถานที่ที่เกิดการบาดเจ็บมักเกิดในบริเวณโรงเรียน หมู่บ้านหรือในเขตชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ บางครั้งเกิดในสนามเด็กเล่นในสวนสาธารณะในปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๗ มีการรายงานการเสียชีวิตของเด็ก ๖ รายในโรงเรียนในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น เป็น การตายจากชิงช้าล้มทับศีรษะ ๔ ราย เครื่องเล่น ปีนป่ายล้มทับ ๑ ราย และลูกโลกซึ่งเป็นเครื่องเล่นชนิดหมุนล้มทับเกิดการบาดเจ็บช่องท้อง เสียชีวิต ๑ ราย ทั้ง ๖ รายพบว่าเครื่องเล่นไม่ได้รับการยึดติดฐานรากพื้นสนามแข็งไม่ดูดซับพลังงาน ผู้เล่นไม่เล่นตามวิธีที่ควรจะปฏิบัติ และไม่มีผู้ดูแลขณะเล่น
การป้องกันการบาดเจ็บจากเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
จะต้องประกอบด้วยเครื่องเล่นที่ปลอดภัย พื้นสนามที่ดูดซับพลังงานได้ดี การติดตั้งที่ ถูกวิธีไม่ล้มทับเด็ก การทะนุบำรุง และการฝึกอบรมผู้ติดตั้งและผู้ดูแลเด็กขณะเล่น
ฉนั้นแล้วรู้จัก คุณและโทษจากของเล่นเด็กแล้ว เรานะนำว่าควรหาซื้อของเล่นเด็กจาก บี เบบี้ ดีกว่า เพราะเขาคำนึงถึงการเล่นของเด็กมาเรียบร้อยแล้ว ปลอดภัยต่อเด็กแน่นอน
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : www.be-bebe.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ของเล่นเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น