จะขอกล่าวถึงการนำทฤษฏีพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างสี
ไปใช้ประยุกต์ในการเลือกเสื้อผ้าเด็กให้เข้าชุดกันนะคะ
อันที่จริงทฤษฏีสีที่แม่ค้าคิดส์ดีนำเสนอไม่ได้ถูกนำไปใช้
เฉพาะกับการเลือกเสื้อผ้าเท่านั้นแต่ใช้กับงานศิลปะ
ทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
การออกแบบเว็บไซต์ งานถ่ายภาพ งานแฟชั่นดีไซน์เสื้อผ้า
เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งอาคารสถานที่
ล้วนแล้วแต่นำทฤษฏีโครงสร้างสีไปใช้เป็นเกณฑ์ในเลือกสี
ที่มีความเข้ากันได้อย่างลงตัว
การจัดโครงสร้างสี (Color schema)
ที่มีความเข้ากันได้จริง ๆ จะแบ่งเป็น 6 รูปแบบ
แต่ขอยกมาเพียง 4 รูปแบบนะคะ
(อีก 2 รูปแบบจะซับซ้อนเกินไปขอละไว้แล้วกันค่ะ)
มาเริ่มรูปแบบแรกกันเลย
รูปแบบที่ 1.การใช้สีโทนเดียวกัน Monochromatic colors
คือการเลือกสีหลักเพียงสีเดียวแล้วใช้การไล่โทน
(อ่อน-เข้ม) ของสีในการมิกซ์แอนด์แมทซ์ชุดเสื้อผ้า
ของเด็ก ๆ เช่น หากเราเลือกสีชมพูมาเป็นสีหลักในชุด
เสื้อผ้าที่ใส่ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ กระโปรง กางเกง รองเท้า
แว่นตา ผ้าคาดผม ก็จะมีสีชมพูเข้ม สีชมพูอ่อน สีชมพูช็อค
กิ้งพิ้ง หรือสีชมพูพาสเทล ที่นำมามิกซ์แอนแม็ทเข้าด้วยกัน
หรือหากใช้สีฟ้าหรือน้ำเงินเป็นหลักสีที่ไปในโทนเดียวกันก็
จะมี ฟ้าน้ำทะเล สีฟ้ากรมท่า(สีฟ้าเข้ม-น้ำเงิน)
สีฟ้าเทอร์ควอยซ์(ฟ้าสว่างอมเขียว) เป็นต้นค่ะ
สีชมพูที่จัดอยู่ในโทนเดียวกัน
สีฟ้าที่จัดอยู่ในโทนเดียวกัน |
บทความจาก : iambebebe
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : เสื้อผ้าเด็ก
หรือ www.be-bebe.com
VDO ตัวอย่างสินค้าที่ : เสื้อผ้าเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น