รถเข็นเด็กที่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐาน ASTM-F 833-2009 จะถูกทดสอบโดยการถ่วงน้ำหนักที่นั่งและดูว่าโครงรถเข็นเด็กจะพับลงมาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทดสอบว่า ขณะที่เด็กนั่งแล้วรถเข็นเด็กจะไม่พับเมื่อมีเด็กติดอยู่ข้างใน เวลาซื้อต้องทดลอง กางออก และลองกดหรือขย่มเบา ๆ เพื่อดูว่าตัวล็อกป้องกันการพับลงมาของโครงรถเข็นเด็กหรือไม่ ทำงานได้ดีหรือไม่
รถเข็นเด็กต้องไม่มีจุดหรือขอบที่แหลมคม
เพื่อไม่ให้ทิ่มแทงเด็กน้อยให้บาดได้ ขณะเลือกซื้อควรมองให้ถ้วนถี่ เอามือลูบ ๆ คลำ ๆ ดูให้ทั่ว ว่ามีตรงไหนแหลม ตรงไหนคม ทิ่มแทงบาดได้หรือไม่ ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นชิ้นเล็ก หรือชิ้นส่วนที่แตกหักได้ง่าย ซึ่งเด็กสามารถเอาเข้าปากและสำลักทำให้ติดคอได้ นั่นคือขนาดที่เล็กกว่า 3.2 ซม. โดยมีความยาวน้อยกว่า 6 ซม. จะสามารถติดคอเด็กได้ โดยเฉพาะของเล่นที่ติดตั้งด้านหน้ามาพร้อมกับรถเข็นเด็ก ลองเอามือจับ บีบเบา ๆ หรือเขย่าเบา ๆ ว่าของเล่นเหล่านี้จะแตกจะหักด้วยแรงเพียงเล็กน้อยของเราหรือไม่ ถ้าแตกหักแล้วกลายเป็นชิ้นเล็กได้หรือไม่ถ้าได้ก็หลีกเลี่ยงการใช้งานรถเข็นเด็กนั้นเสียจะดีกว่าค่ะ
รถเข็นเด็กต้องมีเข็มขัดนิรภัย
ซึ่งจะเป็นระบบยึดเหนี่ยวเด็กไว้เพื่อป้องกันเด็กตกจากการปีนป่ายโดยต้องยึดได้ทั้งหัวไหล่และเอว ขณะที่เด็กนั่งต้องไม่มีโอกาสที่ตัวเด็กจะไหลลื่นออกจากเข็มขัดได้หรือสามารถยกแขนยกขาหลุดลอดออกมาได้
สีที่ใช้เคลือบรถเข็นเด็กทุกส่วน
จะต้องใช้สีที่ไม่มีสารตะกั่วเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือไม่เกิน 90 มก. ต่อสี 1 กก. เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเด็กนั่ง ๆ นอน ๆ ในรถบางทีอาจเอามือไปจับสีหลุดลอกติดมือ หรือร้ายกว่านั้น บางทีเด็กเอาปากไปแทะตามโครงรถเข็นเด็ก สารตะกั่วที่หลุดลอกติดมือเด็กหรือเข้าปากเด็ก จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าผู้ใหญ่เกือบ 5 เท่า ส่งผลให้ไปสะสมในกระดูก สมอง ทำให้เกิดการทำลายเซลประสาท ไอคิวลดต่ำลง สมาธิสั้น พฤติกรรม เบี่ยงเบนได้ ตะกั่วที่เข้าไปในกระดูก อาจทำลายการสร้างเม็ดเลือดทำให้ซีดได้ หากพ่อแม่ไม่รู้ว่าของเล่น แต่ละชิ้นมีสารตะกั่วเท่าไร ก็ให้เลือกโดยที่เอามือลูบ ๆ แล้วไม่มีสีหลุดลอก และไม่มีช่องรูขนาด 0.210 นิ้ว - 0.375 นิ้ว ซึ่งนิ้วสามารถสอดเข้าไปแล้วทำให้ติดค้างได้ หากมีต้องปิดให้เรียบร้อย
รถเข็นเด็กจะต้องไม่มีจุดตัดของแกนโครงด้านต่าง ๆ
ที่นิ้วเด็กสอดเข้าไปในบริเวณจุดติดได้ เช่น เฟรมของรถเข็นเด็ก ด้านข้างซึ่งมีแกนหมุนที่สามารถเฉือนนิ้วเด็กได้
ระบบเบรคเป็นเรื่องสำคัญ
รถเข็นเด็กที่ผ่านการทดสอบเบรค เมื่อนำมาวางบนพื้นเอียง 12 องศา และเอาน้ำหนักประมาณ 40 ปอนด์มาไว้ในตัวรถ ภายใน 10 วินาที รถจะต้องไม่ไหล
การปฐมพยาบาล
ส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการพลัดตก ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ฟกช้ำ ดำเขียว ที่ศีรษะและใบหน้า การบาดเจ็บมักไม่รุนแรง
บาดแผลถลอก ให้ปลอบประโลมเด็ก ชะล้างแผลให้สะอาด
แผลฟกช้ำ ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็นสักยี่สิบสี่ชั่วโมง หลังจากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นแทน ให้รับประทานยาแก้ปวดตามความจำเป็น แผลที่ปากอาจต้องกดนาน เพื่อหยุดเลือด หากมีอาการปวดบวมแขน ข้อศอก หัวเข่า หรือเท้า ให้คิดถึงกระดูกหักเคลื่อน อาจต้องใช้วัสดุแข็งดามไว้ ก่อนนำส่งพบแพทย์มีหัวโนหัวปูด ต้องสังเกตว่ามีอาการเลือดคั่งในสมองหรือไม่ โดยสังเกตได้จาก ลูกจะมีอาการปวดหัว มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม และการทรงตัวไม่ดี หากมีอาการดังกล่าวให้พาส่งโรงพยาบาล
เลือกของดี มีมาตรฐานรับรองจากต่างประเทศก่อน เพราะบ้านเรายังไม่มีกฎหมายควบคุมมาตรฐานรถเข็นเด็ก เลือกดีแล้วใช้ให้ถูกวิธีและอย่าลืมว่าเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีต้องอยู่ใกล้ชิดพ่อแม่อยู่ในระยะที่มองเห็นและคว้าถึงไม่ควรปล่อยไว้ตามลำพังหรือห่างไกลออกไปทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของลูก ๆ ของเราเองนะค่ะ
บทความจาก : iambebebe
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : www.be-bebe.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : รถเข็นเด็ก
VDO ตัวอย่างสินค้าที่ : รถเข็นเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น