การที่ลูกอยู่ในภาวะติดเกมส์หรือไม่นั้น คุณพ่อ คุณแม่สังเกตได้ว่าลูกมีลักษณะต่อไปนี้เกิน 3 ข้อขึ้นไป (ข้อมูลจาก ICD-10 สถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
1. มีความต้องการมากหรือบ่อยที่จะเล่นเกมส์
2. ควบคุมการเล่นให้อยู่ในเวลาไม่ได้ เช่น การเริ่มเล่น การหยุดเล่น หรือความถี่รวมถึงความยาวนานในการเล่น
3. ถ้าหยุดเล่นหรือถูกห้ามไม่ให้เล่น จะมีอาการต่าง ๆ เช่น หงุดหงิด ก้าวร้าว อารมณ์ไม่ดี เป็นต้น
4. เกิดภาวะ Tolerance คือ มีความต้องการเล่นเกมส์เพิ่มมากขึ้น ทั้งจำนวนเวลาในการเล่น และจำนวนครั้งในการเล่น
5. ค่อย ๆ เหินห่างไม่สนใจสิ่งที่เคยพึงพอใจอื่น ๆ เช่น การพูกคุยกับครอบครัวหรือเล่นกีฬากับเพื่อน ๆ เพื่อเอาเวลาเหบ่านั้นไปหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมส์
6. ยังคงเล่นเกมส์อยู่แม้จะมีหลักฐานแสดงถึงผลกระทบที่ไม่ดีแล้ว เช่น ผลการเรียนลดลง สายตาแน่ลง ปวดศีรษะบ่อย ๆ เป็นต้น
จาก 6 ประการข้างต้น ถ้าลูกหรือบุตรหลานของเราเข้าข่าย 3 ใน 6 ข้อ จัดว่าเข้าเกณฑ์ การติดเกมส์แล้ว จำเป็นที่จะต้องยุติ หรือดึงชีวิตเขาออกมาจากภาวะดังกล่าว ซึ่งแน่นอนย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพียงแค่บอกหรือสั่งเท่านั้น คงต้องมีวิธีการอื่น ๆ ทดแทน ดังนี้ หาสื่อ VDO นิทานมาให้เขาดู หรือหาของเล่นที่เสริมพัฒนาการมาให้เขาหยิบจับ แล้วเขาจะหลุดออกมาจากการติดเกมเหล่านั้นแน่นอน
ทั้งนี้ผู้ใหญ่ในบ้านต้องมีบทบาทในการคุมเกมส์ให้เป็นไปตามกฎที่ตั้งขึ้น ความยากลำบากก็คงอยู่ตรงนี้ เพราะผุ้ใหญ่บางคนยอมตัดความรำคาญในการยื้อเถียงกับเด็ก โดยการปล่อยให้เล่นตามที่เด็กต้องการเพื่อความสงบในบ้าน หรือยิ่งไปกว่านั้นเพราะบางบ้าน คุณพ่อ คุณแม่ก็ติดเกมส์ซะเอง
คงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ หากกฎมีไว้ฝ่าฝืน และผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีซะเอง หากจะคุยกันเรื่องเด็กติดเกมส์ คงต้องคุยกัน 3 วัน 3 คืน ไม่จบ
จาก : be-bebe
แหล่งที่มาของข้อมูล : be-bebe.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ของเล่นเด็ก http://be-bebe.com/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น